วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 7


Friday 21 September  2018


time 08.30 - 12.30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยินดีต้อนรับ


The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ



        วันนี้อาจารย์ให้บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยมาทำโดยเเจกให้เเต่ละคนเเละให้เเต่ละคนเขียนวิธีการทดลองของตนเองว่ามีอะไรบ้างก่อนที่จะนำไปทดลอง  เรื่องที่่ฉันได้คือเรื่อง การเกิด๊าซคาร์บอนไดออกไซค์

วัสดุอุปกรณ์

เบกกิงโซดา  น้ำมะนาว  เกลือ  น้ำตาลทราย  ผงฟู  แก้วพลาสติก  ช้อน 

วิธีการทดลอง

  1. นำเบกกิงโซดา   เกลือ  น้ำตาลทราย  ผงฟู ใส่ลงในแก้วพลาสติก 2ช้อน
  2. นำน้ำมะนาวเทใส่ผงต่างๆ3ช้อน
  3. สังเกตดูการเปลี่ยนแปลง
  4. สรุปผลการทดลอง
สรุปผลการทดลอง

เมื่อนำเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำมะนาว จะทำให้เกิดฟองอากาศ ซึ่งก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น






skills ทักษะ

ได้ทักษะการทดลองเเละการตั้งปัญหา

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถไปใช้สอนเด็กๆในวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องการทดลองได้


Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน


อาจารย์สอนแบบอธิบายเเละการถามตอบ



Assesment ประเมิน




our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์


Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน


Teacher อาจารย์ : อาจารย์อธิบายอย่างละเอียด



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ


วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561


สรุปตัวอย่างการสอน


เด็กจะได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ของตนเองกับธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เรื่อง แสงและเงา เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่เด็กสัมผัส และเห็นอยู่ตลอดเวลา เราจะเห็นเงาของสิ่งต่างๆ สังเกตได้ว่าเกิดจาก มีแสงมากระทบสิ่งต่างๆที่ทึบแสงหรือแสงผ่านทะลุผ่านไปไม่ได้ แสงสว่างจากดวงอาทิตย์จะมีเกิดขึ้นในเวลาที่เราเรียกว่า กลางวัน เมื่อดวงอาทิตย์ลับฟ้าไปแล้ว รอบตัวเราจะมีสีดำหรือที่เราเรียกว่า มืด เป็นเวลากลางคืน เราจะใช้แสงจากหลอดไฟ มีไฟฟ้าทำให้เกิดแสงสว่างมาแทน บางทีเราจะเห็นสิ่งต่างๆจากไฟที่เกิดจากจุดเทียน ไฟฉาย เตาแก๊ส แสงสว่างจะทำให้การรับรู้และความรู้สึกของเราจะเปลี่ยนไป เราจะรู้สึกปลอดภัย ทำงานหรือเล่นได้สะดวก เพราะแสง เราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว แต่จะแตกต่างจากเมื่อเราอยู่ในที่มืดหรือในเวลากลางคืน เพราะเราจะมองอะไรไม่เห็น การมองเห็นวัตถุรอบตัวก็แตกต่างกัน บางอย่างเรามองเห็นวัตถุนั้นทะลุไปด้านหลังได้เลย เช่น กระจกใส แก้วใส่น้ำ และแผ่นพลาสติกใส บางอย่างเราก็มองเห็นไม่ชัดเจน เช่นกระจกฝ้า กระดาษชุบน้ำมัน และบางอย่างเราก็เห็นเพียงด้านเดียว เช่น แผ่นไม้ กระเบื้อง อิฐ หิน เป็นต้น นั่นคือ สิ่งรอบตัวเรามีหลากหลาย เราเห็นสิ่งเหล่านั้นในลักษณะที่แตกต่างกันด้วย การเรียนจะทำให้เด็กรู้และเข้าใจ
เด็กได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการสืบค้นหาความรู้ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล และทักษะการสื่อความหมาย ทักษะดังกล่าวเด็กสามารถเรียนรู้ผ่านเรื่องแสงและเงา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น การสังเกตขนาดของเงาที่มีความยาว สั้นไม่เหมือนกันในเวลาที่แตกต่างกัน เงาของวัตถุชนิดหนึ่งๆจะแสดงรูปทรงเหมือนวัตถุชนิดนั้น ฝึกทักษะจำแนก เช่น เงาใดคือต้นไม้ แมว เป็ด ก้อนหิน ใบไม้ หรือตัวเราเอง เมื่อเด็กได้รับการฝึกจะเกิดทักษะ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการแสวงหาความรู้

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

สรุปวิจัย

     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ด้วยวัธจักรการเรียนรู้ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์พบว่าเด็กอนุบาลของกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์น้ำในภาพรวมสูงขึ้นกว่าก่อนทดลองโดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์น้ำในภาพรวมก่อนทดลอง 1.64 คะแนนและหลังทดลองเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.66 คะแนนเมื่อพิจารณาตาม ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์น้ำด้านการใช้ก่อนทดลอง 1.50 คะแนนและหลังทดลองเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.60 คะแนนในด้านการดูแลรักษาก่อนการทดลอง 1.86 คะแนนและหลังทดลองเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.75 คะแนนจะเห็นได้ว่าด้านการใช้เด็กอนุบาลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์น้ำเพิ่มสูงขึ้นมาถึง 1.1 คะแนนเมื่อเทียบกับด้านการดูแลรักษาที่มีค่าเฉลี่ยที่เพิ่มสูงขึ้น 0.89 คะแนนเพราะในชื่อประจำวันของเด็กเมื่อเด็กมีโอกาสได้รับการส่งเสริมในเรื่องการใช้น้ำมากกว่าเรื่องการดูแลเนื่องจากเด็กอนุบาลไม่ได้รับการส่งเสริมให้ออกมาเดินเล่นหรือวิ่งเล่นข้างนอกห้องเรียนตามลำพังน้องสาครูผู้สอนเป็นผู้พาออกไปซึ่งครูมักจะพาไปเล่นกลางแจ้งมากกว่าออกไปสำรวจธรรมชาติทำให้เด็กอนุบาลจึงมีโอกาสค่อนข้างน้อยที่จะได้ดูแลแหล่งน้ำในโรงเรียนผลจากการวิจัยพบว่าการสอนผังมโนทัศน์ที่แทรกอยู่ในทุกขั้นตอนของการจัดประสบการณ์ด้วยวัธจักรการเรียนรู้ร่วมกับผังมโนทัศน์ช่วยให้เด็กมีความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์น้ำด้านการใช้และ ด้านการดูแลรักษาที่สูงขึ้นเพราะเด็กได้ผ่านกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเองด้วยการสรุปและจัดระบบความคิดจากกระบวนการเรียนรู้ด้วยเทคนิคของผังมโนทัศน์เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอทำให้เด็กได้ทบทวนความรู้และต่อยอดความเข้าใจจากสิ่งที่ได้เรียนมาอย่างรวดเร็วสอดคล้องกับวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถทบทวนความเข้าใจและเนื้อหาได้อย่างรวดเร็วง่ายต่อการต่อยอดไปสู่ความรู้ใหม่จากการสรุปความรู้เห็นเป็นคำที่สั้นกระชับขนาดทบทวนความรู้เรื่องการอนุรักษ์น้ำบวกกับการได้ฟังของรสชาติและต่อยอดความรู้ความเข้าใจเด็กจึงมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นรวมถึงการสอนให้เด็กใช้เส้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ทำให้เด็กได้จัดระบบความคิดอย่างมีระบบจนเกิดเป็นความเข้าใจอย่างแท้จริง

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 6


Friday 14 September  2018


time 08.30 - 12.30 o'clock


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยินดีต้อนรับ


The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ


           อาจาย์สอนเรื่องกระบวนการทางวิทยาศาตร์ว่าขั้นตอนของการทดลองนั้นมีอะไรบ้าง

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ 
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
  1. การกำหนดปัญหา   ปัญหาเกิดจากการสังเกต โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย
  2. การตั้งสมมมิตฐาน   การคิดหาคำตอบล่วงหน้า  ก่อนจะกระทำการทดลองโดยอาศัยการสังเกต  
  3. การตรวจสอบสมมติฐาน   การดำเนินการตรวจสอบสมมติฐาน โดยอาศัยการรวบรวมข้อมูลทั้งจากการสำรวจ การทดลอง 
  4. การวิเคราะห์ข้อมูล   การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ศึกษาค้นคว้า ทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์ผล
  5. การสรุปผลการทดลอง   การสรุปผลการทดลอง เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 


skills ทักษะ

ได้รู้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

Apply การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปใช้ในการทดลองเเละการปฏิบัติ


Technique เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน

ได้การสอนเด็กโดยใช้วิธีง่ายๆไม่ซับซ้อน


Assesment ประเมิน



our self ตัวเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน


Friend เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน

Teacher อาจารย์ : สอนเเละอะธิบายอย่างละเอียดจนเข้าใจ




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ




สรุปบทความ


การจัดการเรียนรู้ในระดับปฐมวัย ผู้สอนจะต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว เพื่อเรียนรู้และแก้ปัญหาตามความสนใจและวัย ซึ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวและประสบการณ์ต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานในการนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและต่อยอดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ ควรสอดแทรกกิจกรรมที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างเป็นธรรมชาติผ่านการกิจกรรมการสำรวจ การทดลอง และการเล่น บทความนี้จึงมุ่งนำเสนอแนวทางใน การจัดกิจกรรมที่พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ให้กับเด็กปฐมวัยผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะตามแนวทางของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียนระดับปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ




วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561

Recorded Diary 5


Friday 7   September  2018


time 08.30 - 12.30 o'clock

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปยินดีต้อนรับ

The knowledge gained ความรู้ที่ได้รับ



        วันนี้อาจารย์ให้นั่งระดมความคิดกันในกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่จะไปทำในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์โดยให้เสนอให้อาจารย์ฟังเเล้วอาจารย์ก็จะเเนะนำ แก้ไขให้ตรงจุดหรือเเนะนำการมีอุปกรณ์ของเล่นให้เด็กได้เห็นภาพอย่างชัดเจน หลังจากนั้นอาจารย์ก็ปล่อยให้นักศึกษาไปทำบล็อคของตนเอง




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขอบคุณ